สิ่งที่อยู่คู่กับเกมส์ที่สนุกและน่าลุ้นในฟุตบอลโลกแต่ละปีนั้นก็คือ ลูกฟุตบอล เรามาดูกันดีกว่าว่าลูกฟุตบอลในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ในบอลโลก มีหน้าตาและที่มากันยังไรบ้าง
1.ฟุตบอลโลกปี 1930 ที่อุรุกวัย
ลูกบอลสุดคลาสสิคลูกนี้เป็นบอลแบบออฟฟิเชียลที่ใช้ในนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ระหว่างอุรุกวัยเจ้าภาพและอาร์เจนตินาผู้ท้าชิง มีน้ำหนักมากกว่ารุ่นปัจจุบันอยู่มาก
2.ฟุตบอลโลก ปี 1934 ที่อิตาลี
“เฟเดเรล 102” คือชื่ออย่างเป็นทางการของฟุตบอลลูกนี้ โดยอิตาลีรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพ โดยลูกฟุตบอลมีผิวสัมผัสที่เกลี้ยงกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัดและทำให้การคอนโทรลบอลเป็นไปได้อย่างยอดเยี่ยมเลยทีเดียว
3.ฟุตบอลโลก ปี 1938 ที่ฝรั่งเศส
ชาติแห่งแฟชั่นอย่างฝรั่งเศสได้ออกแบบลูกบอลใหม่หมดพร้อมตั้งชื่อให้ว่า
“อัลแล็ง” ที่มาพร้อมผิวสัมผัสที่ทำได้ดีขึ้นกว่าเดิมและโค้งมนเป็นวงกลมกว่า 95%
4.ฟุตบอลโลก ปี 1950 ที่บราซิล
ที่บราซิลพวกเขาใช้ฟุตบอลสีขาวเป็นครั้งแรกโดยมีชื่อว่า
“ซูเปอร์ ดูโปล ที” ซึ่งบอลในยุคนั้นถือเป็นต้นแบบของพัฒนาการที่ดีเยี่ยมก่อนที่มันจะเดินทางเข้าสู่ยุคใหม่
5.ฟุตบอลโลก ปี 1954 ที่สวิตเซอร์แลนด์
ลูกฟุตบอลกลับมาใช้สีส้มที่เวิลด์ คัพ สวิตเซอร์แลนด์ พร้อมกับสลักชื่อและตัวหนังสือชื่อประเทศลงไปในฟุตบอล สร้างสีสันที่แปลกตาอย่างน่าสนใจ
6.ฟุตบอลโลก ปี 1958 ที่สวีเดน
ฟุตบอลโลกยังคงวนเวียนอยู่ในยุโรป และคราวนี้เป็นสวีเดนที่อาสารับหน้าเสื่อเจ้าภาพและลูกฟุตบอลก็แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ มากนักจากครั้งก่อนๆ ด้วยสีสันและรูปแบบยังคงคล้ายแบบเดิม
7.ฟุตบอลโลก ปี 1962 ที่ชิลี
ลูกบอลประจำทัวร์นาเมนต์ครั้งนี้มีการออกแบบที่แปลกตาขึ้นด้วยการตัดเย็บที่แหวกแนวกว่าครั้งก่อนๆ พร้อมตั้งชื่อให้มันแบบสุดเท่ว่า
“แคร็ค”
8.ฟุตบอลโลก ปี 1966 ที่อังกฤษ
ความเบาที่มากขึ้นพร้อมน้ำหนักที่สมส่วนคือจุดเด่นของปีนี้ และที่ต้องจารึกไว้อย่างดีคือมันเป็นลูกฟุตบอลชุดแชมป์โลกของอังกฤษ และมีชื่อว่า
“สลาเซนเจอร์”
9.ฟุตบอลโลก ปี 1970 ที่เม็กซิโก
ครั้งแรกของแบรนด์อาดิดาสที่เข้ามารับหน้าที่ผลิตฟุตบอลให้เวิลด์คัพ
“อาดิดาส เทลสตาร์” คือชื่ออย่างเป็นทางการของฟุตบอลลูกนี้ จากยางทั้งหลายแหละถูกเปลี่ยนเป็นหนังเย็บติดกัน 32 ชิ้นและแบ่งเป็นสีดำห้าเหลี่ยม 12 ชิ้นกับสีขาวหกเหลี่ยม 20 ชิ้นตามแบบฉบับของความคลาสสิคที่เราเห็นจนชินตาโดยในการเปลี่ยนเป็นสีขาว-ดำก็เพื่อให้ชัดเจนเวลาถ่ายทอดสดไปทั่วโลก ซึ่งทำกันครั้งแรกในสมัยนั้น
10.ฟุตบอลโลก ปี 1974 ที่เยอรมัน
คล้ายกับเมื่อสี่ปีที่แล้ว เพียงแต่เพิ่มและเน้นลวดลายให้ชัดเจนขึ้น นี่คือ
“อาดิดาส เทลสตาร์” ของเจ้าภาพเยอรมัน
11.ฟุตบอลโลก ปี 1978 ที่อาร์เจนติน่า
ลูกฟุตบอลถูกออกแบบให้เข้ากับแนวคิดของการเต้นในจังหวะแทงโก้ ท่าเต้นพื้นเมืองของอาร์เจนติน่า และยังคงใช้หนังห้าเหลี่ยมและหกเหลี่ยมเช่นเดิม เพียงแต่ใช้สีขาวทั้งหมด แล้วค่อยพิมพ์ลายลงใหม่เป็นลักษณะวงกลมนี่คือการเข้าสู่ยุคใหม่ของฟุตบอลแนวลวดลายโค้งสวยงาม นี่คือ
“แทงโก เดอลาสต์”
12.ฟุตบอลโลก ปี 1982 ที่สเปน
สเปน ชาติเจ้าภาพถือโอกาสเรียกมันว่า
“แทงโก เอสปัญย่า” เพื่อประกาศศักดาทั้งที่ลวดลายไม่แตกต่างจากสี่ปีก่อนมากนัก แต่คุณภาพของหนังถือว่ายอดเยี่ยมกว่าเดิมมากและใช้เทคโนโลยีให้ลูกบอลพยายามไม่ดูดซึมน้ำครั้งแรก
13.ฟุตบอลโลก ปี 1986 ที่เม็กซิโก
“อาดิดาส แอซเทก้า” คือชื่อของฟุตบอลที่เม็กซิโกได้เป็นเจ้าภาพในปีนั้นความเปลี่ยนแปลงของมันไม่มากนักจากรุ่นก่อนๆ เพียงแต่ใช้หนังสังเคราะห์แทนในครั้งนี้และมีการพิมพ์ลวดลายแบบ
“แอซเทค” ลงบนลูกบอลสะท้อนถึงความเป็นพื้นเมืองของเม็กซิโกได้อย่างชัดเจน
14.ฟุตบอลโลก ปี 1990 ที่อิตาลีอิตาลี
อิตาลีเป็นเจ้าภาพหนที่สองมาพร้อมกับดีไซน์ที่โฉบเฉี่ยวขึ้นกว่าเดิมมาก การปฏิวัติครั้งสำคัญในครั้งนี้คือการผสมโพลียูริเทนเข้าไปในการผลิตเพื่อกันน้ำ 100% และนี่คือ
“อาดิดาส เอทรุซโก ยูนิโก”
15.ฟุตบอลโลก ปี 1994 ที่สหรัฐอเมริกา
“อาดิดาส เควสตรา” คือชื่อของฟุตบอลในปีนี้ที่สหรัฐอเมริกา โดยมีที่มาจาก
“Quest for the star”เพราะมันถูกผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยีด้านอวกาศเพิ่มชั้นโพลียูริเทนสร้างน้ำหนักให้เบาลงอีกนี่คือฝันดีของกองหน้าและฝันร้ายของนายทวาร
16.ฟุตบอลโลก ปี 1998 ที่ฝรั่งเศสฝรั่งเศส
เลือกใช้สีของธงชาติประดับลงบน
“ไตรโกลอร์” งานฟุตบอลในปีนั้นรวมทั้งสร้างลายน้ำลงบนแบบพิมพ์ฟุตบอลอย่างอลังการ นี่คือฟุตบอลที่ทำให้เจ้าภาพคว้าแชมป์โลกอีกด้วย
17.ฟุตบอลโลก ปี 2002 ที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
ครั้งแรกบนแผ่นดินเอเชียในฐานะเจ้าภาพศึกลูกหนังโลก แม้จะไม่ถูกกันนักระหว่างเกาหลีใต้กับญี่ปุ่นแต่งานดีไซน์ที่ยอดเยี่ยมในครั้งนี้ทำให้
“ฟีเวอร์โนวา” คือลูกฟุตบอลที่เป็นสีสันและเต็มไปด้วยเทคโนโลยีอย่างแท้จริง มันถูกออกแบบให้น้ำหนักเบา เคลื่อนที่ได้อย่างถูกต้องแม่นยำกว่าเดิม
18.ฟุตบอลโลก ปี 2006 ที่เยอรมัน
ลวดลายคือเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของลูกฟุตบอลครั้งนี้ มันกลมกลืงและแฝงไปด้วยนัยยะแห่งความสามัคคีด้วยชื่อ
“ทิมไกสต์” ที่เป็นภาษาเยอรมันแปลได้ว่า
“ทีมสปิริต” และนี่คือการลดจำนวนหนังที่นำมาเย็บติดกันจาก 32 เหลือเพียง 14 ชิ้น นั่นทำให้มันมีรอยต่อน้อยลงและมีความเร็วมากขึ้นเพื่อสร้างปัญหาให้ผู้รักษาประตูโดยเฉพาะ
19.ฟุตบอลโลก ปี 2010 ที่แอฟริกาใต้
ลูกบอลที่ใช้ที่แอฟริกาใต้ครั้งนี้ชื่อ
“จาบูลานี” มันเต็มไปด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่เหนือกว่าเดิมมากมายและจุดเด่นของมันอยู่ที่การผลิตภายใต้แนวคิด
“Grip n’ Groove” มีเกร็ดและร่องบนผิวลูกบอลทำให้การปล่อยผ่านจากเท้าสู่อากาศทำให้ลูกบอลเที่ยงตรงแม่นยำมากที่สุดนี่คือลูกบอลหมายเลข 11 ของอาดิดาสบนเวทีเวิลด์คัพ
20.ฟุตบอลโลก ปี 2014 ที่บราซิล
หลังผ่านการโหวตของแฟนๆชาวบราซิลทั่วประเทศแฟนบอลเกือบล้านเสียงต่างโหวตให้
“บราซูกา” เป็นชื่อลูกฟุตบอลรุ่นใหม่ซึ่งเป็นชื่อที่มีสองความหมาย โดยอย่างแรกจะเป็นการสื่อถึงคนบราซิลที่ไปใช้ชีวิตในต่างแดนซึ่งรวมถึงนักเตะหลายๆคน ขณะที่อีกความหมายเป็นการบรรยาถึงความภาคภูมิใจในวิถีชีวิตและความเป็นชนชาวบราซิเลียนเองโดยตัวของ
“บราซูกา” ถูกประกอบขึ้นมาด้วยแผ่นหนัง 6 ชิ้นและมีลวดลายเป็นริบบิ้นหลากสีผ่านโค้งกันไปมาเป็นสัญลักษณ์ของกำไรข้อมือหลากสีสันที่คนท้องถิ่นนิยมใส่ในบราซิล
21.ฟุตบอลโลกปัจจุบัน ปี 2018 ที่รัสเซีย
อาดิดาส เปิดตัวลูกฟุตบอลรุ่น
"เทลสตาร์18" สำหรับใช้ในการแข่งขันเวิลด์ คัพ 2018 ที่รัสเซีย ซึ่งเป็นการออกแบบสไตล์ย้อนยุค เทลสตาร์ ถือเป็นหนึ่งในลูกฟุตบอลรุ่นคลาสสิกของอาดิดาส ซึ่งออกแบบด้วยห้าเหลี่ยม โดยเริ่มใช้ในฟุตบอลโลก 1970 ที่เม็กซิโก ขณะที่บอลรุ่นดังกล่าว ได้รับการพัฒนาเพื่อใช้ในฟุตบอลโลก ที่เยอรมันตะวันตกในอีก 4 ปีต่อมา ภายใต้รุ่น เทลสตาร์ ดูร์ลาส
ขอบคุณภาพจาก : worldcupballs.info
ข่าวฟุตบอลต่างประเทศล่าสุด | ข่าวฟุตบอลทั้งหมด | ข่าวฟุตบอลพรีเมียร์ลีก |
ข่าวบอลต่างประเทศวันนี้ | ผลบอลล่าสุด | โปรแกรมบอลวันนี้
Post a Comment